
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ฯ เผยภาพ ดาวหางนีโอไวส์ อวดหางยาวในคืนเข้าใกล้โลกที่สุด
NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยภาพ ดาวหางนีโอไวส์ อวดหางยาวในคืนเข้าใกล้โลกที่สุด โดยที่ถ่ายขณะเคลื่อนตัวเข้าใกล้โลกที่สุดเมื่อคืนวันพฤหัสบดี โดยเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นอีกครั้งต้องรอนานกว่า 6,700 ปี #TeamNARIT เก็บภาพ “ดาวหางนีโอไวส์” คืนใกล้โลกที่สุด มาฝากคนไทย ปรากฏสว่างบนท้องฟ้าพร้อมหางฝุ่นยาวกว่าสิบองศา
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ฯ เผยภาพ ดาวหางนีโอไวส์
อวดหางยาว ในคืนเข้าใกล้โลกที่สุด
สำหรับภาพ “ดาวหางนีโอไวส์” ที่บันทึกได้ในครั้งนี้ บันทึกเมื่อเวลาประมาณ 20.30 น. บริเวณอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ปรากฏชัดทั้งหางฝุ่นและหางแก๊ส ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 เป็นวันที่ดาวหางนีโอไวส์โคจรเข้าใกล้โลกที่สุด นับเป็นโอกาสดีที่คืนดังกล่าวท้องฟ้าบริเวณนี้ใสเคลียร์ เหมาะแก่การบันทึกภาพดาวหางไว้เป็นความทรงจำอย่างยิ่ง หลังจากวันนี้ ดาวหางดวงนี้จะมีความสว่างลดลง เนื่องจากโคจรออกห่างดวงอาทิตย์และโลกมากขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับมีแสงจันทร์รบกวน จึงสังเกตเห็นได้ค่อนข้างยาก
ด้านอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากมีประชาชนให้ความสนใจติดตามรอชม “ดาวหางนีโอไวส์” ในคืนนี้กันเป็นจำนวนมาก ประกอบกับสภาพท้องฟ้าค่อนข้างโปร่ง ทัศนวิสัยท้องฟ้าดีกว่าหลายวันที่ผ่านมา สดร. จึงตั้งกล้องโทรทรรศน์ เพื่อให้ประชาชนมาชมดาวหางร่วมกัน เริ่มสังเกตเห็นได้ตั้งแต่เวลา 19.30 น. แม้ว่าจะมีเมฆบดบังเป็นบางครั้ง ประชาชนก็ยังพากันนั่งรอชม จนกระทั่งเวลา 20.30 น. มีเมฆปกคลุมทั่วท้องฟ้า และฝนตก จึงไม่สามารถสังเกตการณ์ดาวหางนีโอไวส์ต่อไปได้
ดาวหางนีโอไวส์ หรือ C/2020 F3 (NEOWISE) เป็นดาวหางคาบยาว โคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบใช้เวลาประมาณ 6,767 ปี ค้นพบเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563 โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศไวส์ (Wide-field Infrared Survey Explorer : WISE) เป็นกล้องโทรทรรศน์ในช่วงคลื่นอินฟราเรด ในโครงการสำรวจประชากรดาวเคราะห์น้อย และวัตถุใกล้โลก โคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด เมื่อ 3 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา ระยะห่าง 43 ล้านกิโลเมตร และเข้าใกล้โลกที่สุดวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 ที่ระยะห่าง 103 ล้านกิโลเมตร
ดาวหางมีหางอยู่ 2 แบบ ได้แก่
แบบที่ 1 : “หางฝุ่น” (Dust Tail) เป็นทางของก้อนกรวดเล็กๆและฝุ่นที่ดาวหางทิ้งไว้ตามแนวการเคลื่อนที่ของดาวหาง เป็นหางที่ฟุ้งกระจายและมีความสว่างมาก มีแนวโน้มจะเห็นได้โดยไม่ต้องอาศัยกล้องโทรทรรศน์
แบบที่ 2 : “หางไอออน” (Ion tail) เป็นสายธารของแก๊สเรืองแสงที่ถูก “เป่า” โดยลมสุริยะ มีทิศทางชี้ออกจากดวงอาทิตย์ตลอด มีความสว่างน้อยกว่าหางฝุ่นมาก
แม้ดาวหางนีโอไวส์ จะกลับมาเยือนโลกอีกครั้งในอีก 6,767 ปี แต่ก็ยังคงมีดาวหางอีกหลายดวงที่จะแวะเวียนเข้ามาใกล้โลกอีกเรื่อยๆ จะสว่างเห็นด้วยตาเปล่าเช่นเดียวกับดาวหางดวงนี้หรือไม่ ต้องรอติดตามกันต่อไปนะครับ
#ดาวหางนีโอไวส์ อวดหางยาวในคืนเข้าใกล้โลกที่สุด #TeamNARIT เก็บภาพ “ดาวหางนีโอไวส์” คืนใกล้โลกที่สุด มาฝากคนไทยครับ…
Posted by NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ on Thursday, 23 July 2020
สรุป
วันที่ 23 กรกฎาคม เป็นช่วงที่ ดาวหางนีโอไวส์ เข้าใกล้โลกที่สุด สามารถสังเกตได้ตั้งแต่หลังดวงอาทิตย์ตก ถึงประมาณสามทุ่ม หากฟ้าใส ไร้เมฆ สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า คืนดังกล่าวตรงกับคืนดวงจันทร์ขึ้น 2 ค่ำ มีแสงจันทร์รบกวนเล็กน้อย อย่าลืมติดตามเว็บไซต์รวยไทยรัฐ แล้วคุณจะไม่พลาดเลขเด็ด เลขดัง เลขมงคล รวมถึงเลขที่เกี่ยวกับความเชื่อต่าง ๆ มาสนุกกับตัวเลขเด็ดๆได้ที่เว็บไซต์รวยไทยรัฐด้วยกันนะคะ
เว็ปไซต์รวยไทยรัฐ ขอสนับสนุนให้ทุกท่าน เสี่ยงโชคอย่างถูกกฎหมาย
และทางเว็ปไซต์ ไม่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อการพนันออนไลน์แต่อย่างใด
ติดตามทุกความเคลื่อนไหวของตัวเลข
** หวยไทยรัฐ – ตรวจหวยไทยรัฐ – ดูดวง-ทำนายฝัน – เลขเด็ดไทยรัฐ – ความเชื่อชาวบ้าน **
ที่นี่ www.ruaythairath.com
¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨
» อ่านต่อเรื่องที่น่าสนใจ